วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีการรักษาทะเล

1 หยุดเติมสารพิษลงสู่ท้องทะเล

มลภาวะทางทะเลมีหลายรูปแบบ ตั้งแต่น้ำมันหลายล้านแกลลอนที่รั่วไหลมาจากถนนหนทาง จนถึง
แพขยะใหญ่แปซิฟิก (Great Pacific Garbage Patch) แต่มลพิษที่เลวร้ายที่สุดคือ ก๊าซไนโตรเจน
และสารฟอสฟอรัสที่มาจากปุ๋ยและสิ่งปฏิกูล เมื่อก๊าซและสารเหล่านั้นถูกชะล้างไหลลงสู่ทะเลชายฝั่ง
สาหร่ายทะเลเมื่อได้รับก๊าซและสารเหล่านั้นก็จะเติบโตอย่างหนาแน่น เมื่อสาหร่ายตายและย่อยสลาย 
ก๊าซออกซิเจนในน้ำจะถูกดึงนำมาใช้ และทำให้สัตว์น้ำขาดออกซิเจนและตายไป ปรากฏการณ์นี้มี
ชื่อว่า “ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี” หรือ “Eutrophication” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ก่อให้เกิดเขต
มรณะอย่างน้อย 450 แห่งทั่วโลก 
2. เพิ่มราคาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เมื่อสองศตวรรษที่ผ่านมา คุณสมบัติทางเคมีของมหาสมุทรมีการเปลี่ยแปลงในหลายๆ ด้าน เช่น 
น้ำทะเลมีความเป็นกรดมากขึ้นถึงร้อยละ 30 ถึงแม้ว่าจะไม่มากพอที่จะเผาไหม้ผิวหนังของมนุษย์ 
(ซึ่งก็เป็นไปได้ในอีกไม่นานนี้) แต่น้ำทะเลก็มีความเป็นกรดมากพอที่จะกัดกร่อนกระดองหรือ
เปลือกแข็งของสัตว์ทะเลหลายๆ ชนิด ซึ่งส่งผลร้ายแรงแก่ระบบนิเวศน์ทางทะเลทั้งหมด 
3. ซ่อมแซมวัฏจักรของน้ำ

วัฏจักรของน้ำคือการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของน้ำ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นจากการระเหยของน้ำทะเล (หรือแหล่งน้ำอื่นๆ) จากนั้นก็ตกลงมาเป็นฝน และระเหยกลับเป็นไออีกครั้ง เมื่อสภาวะอากาศของโลกมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นวัฏจักรของน้ำก็มีความเข้มข้นมากขึ้น พื้นผิวของมหาสมุทรทั่วโลกมีเข้มข้นของเกลือมากขึ้น ทำให้การกำเนิดฝนขาดความสมดุล ไอระเหยของน้ำส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจะกลายเป็นฝนและตกในพื้นที่ที่มีความชื้นมากพออยู่แล้ว เช่น พื้นที่ป่าเขตร้อน และแถบสแกนดิเนเวีย ส่งผลให้เกิดพายุที่รุนแรงขึ้นและน้ำท่วมถี่มากขึ้นในเขตดังกล่าว ในขณะเดียวกันบริเวณทางเหนือและทางใต้ของพื้นที่เขตร้อนซึ่งเป็นบริเวณที่ค่อนข้างมีความเข้มข้นของเกลือมากกว่าบริเวณอื่นๆ อยู่แล้ว จะมีความเข้มข้นของเกลือมากขึ้นๆ และมีอุณหภูมิสูงขึ้น พื้นที่ที่มีความเข้มข้นของเกลือมากๆ เช่น พื้นที่ทะเลทราย ซึ่งเป็นบริเวณที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ จะขยายบริเวณกว้างมากขึ้น
4. หยุดยั้งพันธุ์พืชและสัตว์ผู้บุกรุก 

ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ถ้าคุณดึงเชือกที่แช่อยู่ในน้ำบริเวณท่าเรือชายฝั่งของแหลม Cape Cod คุณจะพบหอยแมลงภู่ เพรียง และสาหร่ายเกาะติดขึ้นมากับเชือกเป็นจำนวนมาก แต่ในวันนี้ คุณจะพบเพียงแค่เพรียงจำพวกไม่มีกระดูกสันหลัง หรือ  Tunicate เกาะอยู่รอบๆ เชือกเท่านั้น Tunicate เป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งที่กำลังบุกรุกไปยังท้องทะเลทั่วโลก สัตว์จำพวกนี้แพร่กระจายไปทั่วโลกโดยการติดไปกับเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ นอกจาก Tunicate แล้ว พันธุ์พืชและสัตว์ผู้บุกรุกยังมี Lionfish ที่พบได้มากตามเขตตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐฯ และ Mangrove tree ในหมู่เกาะฮาวาย พันธุ์พืชและสัตว์จำพวกนี้กำลังก่อปัญหาให้กับพันธุ์พืชและสัตว์ท้องถิ่น ทั้งในด้านการแย่งชิงแหล่งอาหาร การรบกวนระบบการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตในเขตนั้นๆ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสัตว์และพืชท้องถิ่น 
5. ปกป้องแนวปะการัง

ในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมา แนวปะการังจำนวนถึงหนึ่งในสามของปริมาณทั้งหมดทั่วโลกถูกทำลายไป ปะการังในเขตชายฝั่งของประเทศศรีลังกา ประเทศแทนซาเนีย ประเทศเคนยา สาธารณะรัฐมัลดีฟ และสาธารณะรัฐเซเชลส์ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ถ้าหากมหาสมุทรมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นอีก 7 องศาฟาเรนไฮต์ในอีก 3 ทศวรรษข้างหน้าตามที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ ร้อยละ 95 ของแนวปะการังจะหายไป สาเหตุหลักของการตายของปะการังคือปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว เมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นเชื้อแบคทีเรียในน้ำขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและทำลายสาหร่ายทะเลที่อาศัยและมีความสัมพันธ์แบบพึ่งพิงซึ่งกันและกันกับปะการัง โดยสาหร่ายทะเลจะเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานซึ่งอยู่ในรูปของน้ำตาลให้กับปะการังซึ่งเป็นพืชผู้ให้อาศัย ดังนั้น เมื่อสาหร่ายตายไป ก็จะเหลือแต่ปะการังที่ขาวซีด
6. จับปลาอย่างฉานฉลาด
ในปีที่ผ่านมา ยอดการบริโภคปลาทั่วโลกอยู่ที่เฉลี่ย 37.5 ปอนด์ หรือ 16.98 กิโลกรัมต่อคน ต่อปี ในขณะที่ปริมาณของปลาคอดและปลาทูน่าครีบน้ำเงิน (Bluefin Tuna) มีปริมาณลดลง สัตว์จำนวนมากตั้งแต่ปลาวาฬจนถึงเต่าทะเล ถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ความต้องการในการบริโภคปลาของมนุษย์หาใช่ปัญหาไม่ แต่ปัญหาคือชาวประมงจับสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ขึ้นมาด้วยโดยที่ไม่ได้เจตนา (Bycatch) ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการทำการประมงเพื่อการค้า สัตว์อื่นๆ ที่ถูกจับขึ้นมาด้วย เช่น ปะการัง ฟองน้ำ (สัตว์ทะเลชนิดหนึ่งที่ไม่มีกระดูกสันหลัง) ปลาดาว ฉลาม ปลาวาฬ เต่า หรือแม่กระทั่งนก การจับสัตว์อื่นๆ ติดมาด้วยเช่นนี้ ส่งผลให้สัตว์หลายๆ ชนิดใกล้ภาวะสูญพันธุ์ รายงานฉบับหนึ่งจาก United Nation รายงานว่ามีจำนวนสัตว์ที่ถูกจับขึ้นมาโดยไม่ได้เจตนามากถึง 7.5 ล้านตันต่อปี หรือเทียบได้กับร้อยละ 5 ของการจับปลาเพื่อการค้าทั้งหมด นอกจากนี้ การรายงานปริมาณ Bycatch เป็นรายงานที่ผู้ประกอบการจัดทำและส่งให้ทางการเอง ดังนั้น ตัวเลขที่ปรากฏอยู่ในรายงานหลายๆ ฉบับเป็นการรายงานที่ไม่ตรงกับความจริง เช่น การจับกุ้งที่อ่าวเม็กซิโก แท้จริงแล้วมีปริมาณ Bycatch มากถึง 5 ปอนด์ในการจับกุ้งทุกๆ 1 ปอนด์

ข่าวดีในขณะนี้ก็คือ มีการนำเอาเทคโนโลยีการจับปลาใหม่ๆ มาใช่เพื่อลดปริมาณของ Bycatch เช่น บริษัทที่จับกุ้งหลายๆ แห่งใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Turtle-Excluding Devices ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยป้องกันไม่ให้เต่าทะเลหลงเข้ามาในอวนสำหรับจับกุ้ง ที่ Florida Atlantic University รองศาสตราจารย์ Stephen Kajiura ได้พยายามปกป้องฉลามโดยการใส่ธาตุที่หายากบางชนิดไว้ในสายเชือกอวนที่ชาวประมงใช้จับปลาทูน่า เมื่อธาตุดังกล่าวทำปฏิกริยากับน้ำทะเลจะก่อให้เกิดวงกระแสแม่เหล็กขึ้นซึ่งช่วยขับไล่ปลาฉลาม รวมไปถึงปลากระเบนบางชนิด

วิธีแก้ไขปัญหาที่จะประสบความสำเร็จจะต้องเป็นวิธีที่มีต้นทุนต่ำและปฏิบัติได้ง่าย Jeffry Fasick รองศาสตราจารย์แห่ง Kean University กำลังทำการศึกษาเกี่ยวกับการปกป้องปลาวาฬในเขต North Atlantic โดยการใช้เชือกหลากสีที่ปลาวาฬสามารถมองเห็นและหลีกเลี่ยงได้ และยังมีการนำห่วงเหล็กที่มีความหนาน้อยลงมาใช้ในเครื่องมือจับปลา เพราะห่วงเหล็กที่มีขนาดเล็กลงจะไม่สามารถรับน้ำหนักของปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาฉลามหรือปลาวาฬได้ ในการทดสอบ NOAA พบว่าห่วงเหล็กที่มีความหนาน้อยลงสามารถช่วยลดปริมาณ Bycatch ของปลาทูน่าครีบน้ำเงินได้ถึงร้อยละ 56 ซึ่งเป็นปริมาณที่มากพอสมควร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น